"จัดทำบัญชี ฟรี 2 เดือน"
มาตรการ ช่วยเหลือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนบริษัทใหม่ ฮึดสู้!! สวนกระแสสถานการณ์ Covid-19 (โควิด-19)
โปรโมชั่นสุดคุ้มเพื่อช่วยผู้ประกอบการใหม่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยนับเดือนที่จดทะเบียนเป็นเดือนแรกและฟรีอีก 1 เดือน ถัดไป
รีบจดด่วน!! ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2563
เช็คลิสต์มาตรการ "แบงก์พาณิชย์-รัฐ" ช่วยเหลือลูกหนี้ เจอผลกระทบไวรัสโควิด-19
"ธนาคารพาณิชย์และธนาคารรัฐ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบภาคธุรกิจในวงกว้าง โดยลดผ่อนชำระให้กับลูกหนี้และบางแห่งเพิ่มวงเงินหมุนเวียนเพื่อลดผลกระทบ"
แต่ละธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือแตกต่างกัน มีรายละเอียดดังนี้
ธ.กรุงเทพ
- ลูกหนี้ธุรกิจ
- สินเชื่อเดิมที่มีกับธนาคาร พักชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือนให้สินเชื่อเพิ่ม
- ลูกหนี้ SMEs ให้สินเชื่อประเภท PN ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และสามารถต่ออายุได้โดยมีระยะเวลารวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 1 ปี วงเงินให้ความช่วยเหลือสูงสุด 20 ล้านบาท
- สำหรับลูกหนี้รายใหญ่พิจารณาสินเชื่อเพิ่มตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
- ลูกหนี้รายย่อย (สินเชื่อบัตรเครดิต)
- ผ่อนผันลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราปกติร้อยละ 50
- ผ่อนผันลดจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระเหลือไม่เกินร้อยละ 10
- ผ่อนผันยกเว้นดอกเบี้ยจากหนี้ที่ค้างชำระ
- สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ (สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อบุคคล)
- พิจารณาผ่อนปรนการชำระหนี้เป็นรายกรณี
ธ.กสิกรไทย
- ลูกค้าธุรกิจ
- สินเชื่อเพื่อธุรกิจ (ประเภทเงินกู้) : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
- วงเงินหมุนเวียน (ประเภทตั๋ว) : ขยายตั๋วครั้งละไม่เกิน 3 เดือน
- สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักร : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
- ลูกค้ารายย่อย
- สินเชื่อบ้านกสิกรไทย และ สินเชื่อที่อยู่อาศัยอื่นที่มีหลักประกัน : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
- สินเชื่อบัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคล : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยถึงรอบบัญชีเดือนธันวาคม 2563
- สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ : ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 50% ระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาการผ่อนสูงสุด 6 เดือน โดยรวมสัญญาล่าสุดต้องไม่เกิน 7 ปี
ธ.ไทยพาณิชย์
- ลูกค้าธุรกิจ
- ธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าธุรกิจด้วยการพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุด 12 เดือน
- ลูกค้าบุคคลและผู้ประกอบการรายย่อย
- ธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าบุคคลและผู้ประกอบการรายย่อยด้วยการพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุด 6 เดือน
หมายเหตุ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
หมายเหตุ : เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
ธ.กรุงไทย
- ลูกหนี้ธุรกิจ
- พักชำระหนี้เงินต้น (Grace Period) สูงสุด 12 เดือน
- สำหรับลูกหนี้รายที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเดิม สามารถขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปได้อีก 5 ปี
ธ.ยูโอบี
- ลูกหนี้ธุรกิจ
- พักชำระหนี้เงินต้น (Grace Period) สูงสุด 12 เดือน
- ลูกหนี้รายย่อย
- ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำของสินเชื่อบัตรเครดิต
ธ.เกียรตินาคิน
- ลูกหนี้ธุรกิจ (ธุรกิจอพาร์ตเมนต์โรงแรม)
- พักชำระหนี้เงินต้น และ/หรือ ลดดอกเบี้ย สูงสุด 18 เดือน
- ลูกหนี้รายย่อย
- พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน
- ส่วนลดดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาชำระหนี้
ธ.เกียรตินาคิน
- ลูกหนี้ธุรกิจ (ธุรกิจอพาร์ตเมนต์โรงแรม)
- พักชำระหนี้เงินต้น และ/หรือ ลดดอกเบี้ย สูงสุด 18 เดือน
- ลูกหนี้รายย่อย
- พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน
- ส่วนลดดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาชำระหนี้
ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)
- แนวทางการให้ความช่วยเหลือจะถูกพิจารณาเป็นรายกรณี
ธ.ไอซีบีซี (ไทย)
- ผ่อนปรนการชำระหนี้เงินต้นชั่วคราวเป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ทั้งลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคลธรรมดา
- เพิ่มวงเงินสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือการดำเนินธุรกิจของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
- ผ่อนปรนอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับลูกค้าบัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบ
หมายเหตุ : ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าปัจจุบันของธนาคารเป็นรายกรณี
ธ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์
- ลูกหนี้ธุรกิจ
- ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระ เช่น ปลอดเงินต้นสูงสุด 12 เดือน และ ขยายระยะเวลาเงินกู้ เพื่อให้ภาระการผ่อนชำระลดลงหลังหมดช่วงปลอดเงินต้น
- สนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม
- ช่วยเหลืออื่นๆ ตามที่เห็นสมควรโดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป
ธ.ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย
- ลูกหนี้ SMEs ทั้งบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
- พักชำระหนี้เงินต้น (Grace Period) สูงสุดไม่เกิน 24 เดือน
- ปรับลดจำนวนเงินการผ่อนชำระค่างวด และขยายระยะเวลาเงินกู้ออกไปสูงสุดไม่เกิน 24 เดือน
ธ.ออมสิน
- โครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
- ให้สินเชื่อเพิ่มวงเงินสูงสุด 50,000 บาท ผ่อนชำระคืนสูงสุด 5 ปี และปลอดชำระหนี้ 6 งวดแรก แก่ผู้ประกอบการ ผู้มีอาชีพอิสระ พนักงานลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม ยื่นคำขอได้ภายใน 30 กันยายน 2563
- ลดดอกเบี้ยให้สูงสุด 20% ของดอกเบี้ยจ่าย ระยะเวลา 1 ปี พักเงินต้นไม่เกิน 2 ปี และขยายเวลาชำระหนี้ ยื่นคำขอได้ภายใน 31 ธันวาคม 2563
ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ลูกค้ารายย่อย
- เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง ขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไป 2 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564
- โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง
ปี 2563 วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งสามารถกู้
เพื่อลงทุนได้รายละไม่เกิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 0%
ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-2% (ปัจจุบัน MRR= 6.875%)
กำหนดชำระคืนไม่เกิน 10 ปี สนับสนุนสินเชื่อตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 ธันวาคม 2563
ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
- ลูกค้ารายย่อย
- ลูกค้าปัจจุบันที่กู้และจดจำนองก่อนวันเริ่มมาตรการนี้ และได้รับผลกระทบด้านรายได้จากโรคระบาดไวรัสโคโรนา
- ปรับลดดอกเบี้ยและเงินงวดผ่อนชำระไม่เกิน 6 เดือน
- ยื่นคำขอไม่เกิน 31 มีนาคม 2563
ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
- มาตรการลดภาระผู้ส่งออกไทย สู้ภัยไวรัสโคโรนา
ด้านสินเชื่อ
- พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน รวมทั้งขยายระยะเวลาให้ต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงิน (รวมอายุตั๋วเดิมไม่เกิน 360 วัน)
- ขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้สูงสุด 5 ปี สำหรับลูกค้าที่มีการค้ำประกันสินเชื่อโดย บสย. PGS ระยะที่ 5-7 โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม
- ระยะเวลาให้บริการ 4 กุมภาพันธ์ – 31 ธันวาคม 2563
ด้านรับประกันการส่งออก
- ขยายเทอมการชำระเงินที่ให้ความคุ้มครองสำหรับลูกค้าประกันการส่งออก ที่มีการส่งออกไปยังผู้ซื้อในประเทศจีน โดยไม่คิดค่าเบี้ยประกันเพิ่ม กรณีขยายเทอมไม่เกิน 180 วัน (หากขยายเกิน 180 วันแต่ไม่เกิน 270 วัน จะเรียกเก็บเบี้ยประกันเพียง 50%)
- เพิ่มความคุ้มครองให้กับการส่งออกสินค้าเน่าเสียง่ายในกรณีที่ผู้ซื้อในประเทศจีนไม่รับมอบสินค้าเป็นกรณีพิเศษ ในอัตรา 50% ของ มูลค่าใบกำกับสินค้า ทั้งนี้ต้องไม่เกินวงเงินรับประกัน
- ลดระยะเวลาการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทน
- ระยะเวลาให้บริการ 4 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2563
- มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ด้านสินเชื่อ
- วงเงินกู้ระยะยาวเพื่อซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ หรือเพื่อต่อเติมปรับปรุงโรงงาน วงเงินสูงสุดไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 7 ปี หลักประกันขั้นต่ำ 40% สำหรับกลุ่มลูกค้า SMEs ใช้ บสย. ค้ำประกันได้ (โครงการ PGS 8) อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 2.00% ระยะเวลาให้บริการ 31 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563
ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
- มาตรการด่วนช่วยเหลือ SMEs ไทยจากผลกระทบไวรัสโคโรนา
- พักชำระหนี้เงินต้น สำหรับลูกค้าบัญชีประเภทเงินกู้ระยะยาว นานสูงสุด 12 เดือน
- ขยายเวลาชำระหนี้ โดยขยายเวลาให้สอดคล้องกับธุรกิจได้ และสำหรับลูกค้า
ที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเดิมสามารถขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปได้อีก 5 ปี
โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
- เติมทุนสินเชื่อดอกเบี้ยถูกนิติบุคคล 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก บุคคลธรรมดา 5% ต่อปีใน 3 ปีแรก
ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
- ลูกค้าสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเพื่อธุรกิจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจการท่องเที่ยวรวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม
- พักชำระหนี้เงินต้นและชำระเฉพาะกำไรนานสูงสุด 12 เดือน (ทั้งนี้ ไม่เกินเดือนธันวาคม 2563)
- ยื่นคำขอไม่เกินวันที่ 30 เมษายน 2563 ณ สาขาของธนาคารทั่วประเทศ
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
- มาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อเป็นระยะเวลา 12 เดือน
- สำหรับลูกค้า SMEs เดิม ของ บสย. ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
ได้แก่ ธุรกิจบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และเป็นลูกค้า บสย. ที่ถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2563
- มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” ช่วยเหลือ SMEs ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง
- โดยสถาบันการเงินได้ปรับปรุงเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ และมีการเติมทุนสร้างสภาพคล่อง สามารถใช้โครงการ “บสย. SMEs สร้างไทย” ได้ทันที รับคำขอค้ำประกันจนถึง 31 ธันวาคม 2563
มาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนจากเหตุการณ์โคราช ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อธุรกิจ 2 ปีแรก
- มาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนจากเหตุการณ์โคราช ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อธุรกิจ 2 ปีแรก
- สำหรับ SMEs ที่ได้รับการผ่อนปรนการชำระหนี้กับธนาคาร และต้องการเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ขยายสภาพคล่อง