รู้ได้อย่างไร ว่าตอนไหนต้องจดภาษีภูลค่าเพิ่ม ( VAT )

รู้ได้อย่างไร ว่าตอนไหนต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)

“ในการทำธุรกิจคงไม่มีใครไม่รู้จัก VAT  เป็นอีกเรื่องที่ต้องคอยระวังส่งผลให้ผู้ประกอบการแต่ละคนปวดหัวกับเรื่องนี้ไม่น้อย พร้อมทั้งมีคำถามที่เกิดขึ้นมาจากการทำธุรกิจของตนเอง คำถามที่พบได้บ่อยคือ เรื่องข้อกำหนดต่างๆภายในเรื่อง VAT”

 โดยเฉพาะตอนนี้ที่มีธุรกิจเพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้ผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นโดยการเป็นธุรกิจเล็กที่เริ่มด้วยตนเอง มีประเด็นในเรื่อง

“รู้ได้อย่างไร ว่าตอนไหนต้องจดภาษีภูลค่าเพิ่ม(VAT)” งั้นเรามาตอบคำถามกันเลยดีกว่า 

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ

เกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยกฎหมายมีการบังคับให้ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ยื่นจดไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่น จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้นไป แต่ถ้าหากมีรายได้ตลอดทั้งปีเท่ากับ 1.8 ล้านบาทพอดี ยังถือว่าไม่เข้าเกณฑ์ก็ยังไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เอกสารสำหรับขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
  • ภ.พ.01.1 จำนวน 3 ฉบับ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ หรือผู้ประกอบการ 1 ฉบับ
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ตั้งเป็นสถานประกอบการ 1 ฉบับ
  • รูปภาพสำนักงานทั้งภายในและภายนอก อย่างน้อย 4 ภาพ จำนวน 2 ชุด
  • แผนที่สำนักงาน 2 ชุด
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ / สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ / ภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 1 ฉบับ
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) กรณีให้บุคคลอื่นยื่นจดทะเบียนแทนผิมีอำนาจของกิจการ 1 ฉบับ
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนของเจ้าของสถานที่ 1 ฉบับ (กรณีผู้มีอำนาจกิจการไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ 1 ฉบับ (กรณีผู้มีอำนาจกิจการไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  • สัญญาเช่า 1 ฉบับ (กรณีเช่าสถานที่ตั้งสำนักงาน)

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำอะไรบ้าง

หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำคือ ออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการ  รวมถึงต้องมีการทำรายงานรายการภาษีซื้อ ภาษีขาย สินค้าคงเหลือ และวัตถุดิบ พร้อมส่งยื่นรายงานแก่สรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แม้ว่าเดือนนั้นๆ จะมีหรือไม่มีการซื้อขายก็ตาม

และในกรณีที่ผู้มีรายได้เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  สิ่งที่ตามมาคือเรื่องของ “ภาษี” ที่ต้องเสียสูงถึง 35% ตามอัตราภาษีก้าวหน้า ดังนั้น การจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จึงเป็นเรื่องที่ผู้มีรายได้ควรพิจารณาต่อ เพราะจะทำให้เสียภาษีน้อยลงเหลือ 20% หรือปรึกษาสำนักงานบัญชีเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจจดทะเบียนบริษัท

หากสนใจข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการทำบัญชีและการจัดตั้งบริษัท สามารถอ่านบทความได้ที่

รับจดทะเบียนบริษัท , รับทำบัญชี