วงจรบัญชี
“วงจรบัญชี (Account cycle) หมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำบัญชี โดยเริ่มจากจดบันทึกรายการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) จากนั้นแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ต่างๆ และทำการปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด และทำการจัดทำงบทดลอง จากนั้นทำการปรับปรุงบัญชี เพื่อแสดงรายการทางการเงินได้ถูกต้องในงบการเงิน ตามรอบบัญชี เช่น 6 เดือนหรือ 1 ปี”
วงจรบัญชี ประกอบไปด้วย
1. การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis)
ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
2. การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries)
เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน)
3. การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting)
เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ
4. การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries)
เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม
5. การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement)
หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม และงบดุล
6. การปิดบัญชี (Closing Entries)
หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป
หากสนใจข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการทำบัญชีและการจัดตั้งบริษัท สามารถอ่านบทความได้ที่