หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานบัญชี มีอะไรบ้าง?
“การทำธุรกิจบางครั้งนั้นวุ่นวายจนไม่สามารถจะทำเองได้ทั้งหมดคนเดียว ตั้งแต่ธุรกิจเล็กหรือธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งไม่สามารถควบคุมทุกด้านได้ทั้งหมด โดยเฉพาะ ‘เรื่องบัญชี’ แต่ถ้าหากเราอยากจ้างสำนักบัญชีมาดูแล หน้าที่ของสำนักงานบัญชีคืออะไรบ้างหล่ะ ดังนั้นวันนี้เรามาดูประเด็นนี้เลยกันดีกว่า ว่า…. “
หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานบัญชี มีอะไรบ้าง
ปิดบัญชีทั่วไป
เมื่อมีการว่าจ้างสำนักงานบัญชีให้ทำบัญชีรายเดือน ทางสำนักงานบัญชีจะรวบรวมเอกสารแต่ละเดือนลงบันทึกตั้งแต่งบการเงิน งบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร รายรับ รายจ่าย และอื่นๆ ดังนี้
- ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการเขียนบันทึกลงบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี
- จัดทำบัญชีรายวัน 5 เล่มตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคารแยกเป็นแต่ละบัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย และบัญชีรายวันทั่วไป
- จัดทำบัญชีแยกประเภทต่างๆ เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ และเจ้าหนี้
- จัดทำบัญชีสินค้า
- จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
- ปิดบัญชีประจำปี จัดทำข้อมูลประกอบการปิดงบการเงิน เช่น สรุปรายการคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และบัญชีต่างๆ ฯลฯ
- จัดทำงบการเงินประจำปี ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งานแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงิน
- ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล ให้ข้อมูลและตอบคำถามผู้สอบบัญชี ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน
ยื่นแบบประจำเดือน
สำนักงานบัญชีจะเป็นคนยื่นแบบรายเดือนแทนบริษัท ดังนี้
- ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือนของพนักงาน (ภ.ง.ด.1)
- ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.3)
- ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินให้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.53)
- ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ (ภ.ง.ด.54)
- ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ (ภ.พ.36)
- ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (ภ.พ.30)
- ยื่นรายการเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน
- แจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่
- แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนหากพนักงานลาออก
ยื่นแบบประจำปี
จัดทำพร้อมยื่นภาษีกลางปี ปลายปี ส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายประจำปีของพนักงานแก่กรมสรรพากร ส่งงบการเงินให้กระทรวงพาณิชย์ สรุปรายการนำส่งเงินสมทบประกันสังคม และอื่นๆ ดังนี้
- ยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)
- ยื่นแบบสรุปการจ่ายค่าจ้างและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายประจำปี (ภ.ง.ด.1ก)
- ยื่นแบบสรุปรายการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมประจำปี (กท.20)
- นำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
- นำส่งงบการเงินประจำปี (ส.บช.3)
- ยื่นแบบภาษีภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภ.ง.ด.50)
หากสนใจข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการทำบัญชีและการจัดตั้งบริษัท สามารถอ่านบทความได้ที่
รับจดทะเบียนบริษัท , รับทำบัญชี