5 ทักษะ ที่ควรรู้ในการสร้างรายได้เพิ่มในยุคดิจิทัล
“ในตอนนี้ต้องยกให้ว่าเป็นยุคของคำว่า “ดิจิทัล” อย่างแท้จริง นอกจากเทรนด์ที่เปลี่ยนไป ยังรวมถึงการทำงานของธุรกิจสมัยนี้ด้วย วันนี้ทาง ‘ควิกแอคเคาท์ติ้ง’ จึงยก 5 ทักษะ ที่ควรรู้ในการสร้างรายได้เพิ่มในยุคดิจิทัล”
มีดังนี้
-
Selling & Communication Skills (การขาย-การสื่อสาร)
ในหลายประเทศจะให้ความสำคัญกับทักษะการสื่อสารอย่างมาก ยิ่งการสื่อสารระหว่างประเทศยิ่งสร้างรายได้เสริมให้กับเราได้ ดังนั้น สำหรับคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ถนัดทักษะการขาย มีสกิลการใช้คำพูดในการสร้างรายได้ให้ดีลนั้นๆ complete ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่สามารถทำได้แม้ว่าเราจะมีงานประจำอยู่แล้วก็ตาม
อีกหนึ่งเหตุผลที่ทักษะการสื่อสารยังสำคัญในยุคดิจัล เพราะว่าประชากรทั่วโลกไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจเทคโนโลยีต่างๆ ดังนั้น กลุ่มที่มีความสามารถในการสื่อสาร ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้ ยังเป็นทักษะที่ต้องการขององค์กรและบริษัทหลายๆ แห่ง
ขณะที่โลกออนไลน์ทำให้การสื่อสารทุกอย่างไร้พรมแดน ดังนั้น หากใครที่สามารถสร้างโอกาสตรงนี้เปลี่ยนเป็นรายได้จากการขายได้ ก็ถือว่าจะช่วยสร้างรายได้เสริมอย่างมากได้เหมือนกัน
-
Digital Marketing (การตลาดดิจิทัล)
คนที่มีทักษะเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัลในยุคแบบนี้ถือว่ามีความได้เปรียบมาก เพราะการแข่งขันค่อนข้างสูง ใครมีกลยุทธ์ดึงดูดใจผู้บริโภคมากกว่ากันถือว่าเป็น main player ที่น่าสนใจและสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มผู้บริโภคได้ด้วย
ทั้งนี้ สกิลนี้ค่อนข้างเฉพาะตัวเพราะต้องใช้ความรู้ทั้งสมองซีกขวาและซ้ายไปพร้อมๆ กัน ในขณะที่ต้องใช้กลยุทธ์ ตรรกะ สมมุติฐาน ก็ต้องใช้ความครีเอทที่ถูกทิศถูกทางด้วย
ด้วยโอกาสที่ใครๆ ก็เข้าไปอยู่ในตลาดดิจิทัลได้ง่าย ดังนั้น เราจึงเห็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ๆ เข้ามาเป็นผู้แข่งขันร่วมอยู่บ่อยๆ ซึ่งธุรกิจน้องใหม่ที่ยังมีงบทุนไม่มาก นักการตลาดดิจิทัล freelance จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจของกลุ่มผู้ประกอบการนี้
-
Coding (การเขียนโค้ดหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
นักโปรแกมเมอร์ หรือนักเขียนโค้ด ถือว่าเป็นสกิลเฉพาะตัวมากๆ และยังมีจำนวนผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ไม่มากนัก ดังนั้น การสร้างความได้เปรียบในธุรกิจ นักเขียนโค้ดก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่จำเป็นต้องมี เพราะสามารถทำให้เกิดความใหม่ และกลยุทธ์ที่ไม่เหมือนใครได้
ยิ่งธุรกิจในสมัยนี้เกือบทุกอย่างต้องเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น ฯลฯ นักเขียนโค้ดที่คิดนอกกรอบเก่งๆ และสร้างความแตกต่างได้เป็นหนึ่งในตำแหน่งที่บริษัทและองค์กรต้องยอมแลก
-
Business and Marketing Analytics (การวิเคราะห์ธุรกิจและการตลาด)
ในยุคทองของข้อมูลที่ล้นหลามขนาดนี้ หากไม่มีนักวิเคราะห์ข้อมูลที่ดี ข้อมูลนั้นๆ ก็สูญเปล่า ดังนั้น แม้ว่าตำแหน่งนักวิเคราะห์ธุรกิจ หรือการตลาดจะมีอยู่แล้วในองค์กร/บริษัท แต่บางครั้งก็จำเป็นต้องใช้นักวิเคราะห์จากข้างนอกมาช่วยฟันธงความเป็นไปได้ของทิศทางธุรกิจ หรือการตลาดนั้นๆ ด้วยเช่นกัน
โดยมี 3 สิ่งหลักๆ ที่บริษัทส่วนใหญ่ต้องการรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ
- วิธีการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีที่สุดเพื่อให้ธุรกิจเติบโต
- วิธีการติดตามผลกระทบของการตลาดที่มีผลต่อธุรกิจที่ดีที่สุด
- วิธีการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับธุรกิจ (ทั้งการเงิน, ทิศทาง, พนักงาน) และเพิ่มโอกาสเติบโตให้ธุรกิจ
-
Branding & Design (การสร้างแบรนด์และการดีไซน์)
สำหรับธุรกิจ #แบรนด์ คือสิ่งสำคัญมากเพราะเป็นหน้าเป็นตาให้กับแบรนด์ในการสร้างการรับรู้ ขณะที่การสร้างแบรนด์ หรือการดีไซน์ต่างๆ ตั้งแต่โลโก้ ความหมาย ไปจนถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ นักสร้างแบรนด์หรือนักดีไซน์จึงเป็นตำแหน่งที่สำคัญมากทีเดียว
ดังนั้น เรื่องของการดีไซน์แบรนด์ดิ้งจึงเป็นมากกว่าการจดจำ เพราะว่ามันเป็นทั้งงานศิลปะวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน จึงต้องเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะสีของแบรนด์, ดีไซน์ตัวอักษร, ขนาด, มุมมอง, ความหมาย ฯลฯ ตามความรู้สึก friendly สำหรับมนุษย์เป็นศาสตร์ที่ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ และบางทีไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแค่คนๆ เดียว แต่ต้องเป็นคนที่มีศาสตร์นี้ช่วยกันคิด
เช่น การออกแบบร้านเบเกอรี่ให้ความรู้สึกสบายใจ และอบอุ่น ด้วยสี earth tone พร้อมโลโก้ทรงกลมที่ดูเป็นมิตรต่อลูกค้า เป็นต้น
หากสนใจข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการทำบัญชีและการจัดตั้งบริษัท สามารถอ่านบทความได้ที่