การสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่ควรรู้ หนึ่งในนั้น คือ การตั้งชื่อแบรนด์ หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่าชื่อแบรนด์ที่ดีจะต้อง ‘โดนใจ’ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ฟัง แต่การจะตั้งชื่อแบรนด์ให้โดนใจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องและต้องคำนึงถึง เช่น อัตลักษณ์ของแบรนด์ ชนิดของสินค้าหรือบริการ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องสื่อสารด้วย ฯลฯ แม้จะฟังดูยุ่งยากไปซักหน่อย แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ หลักการตั้งชื่อบริษัทที่เรานำมาฝากคุณในวันนี้ จะช่วยให้คุณได้ชื่อแบรนด์ที่ใช่ และโดนใจลูกค้าอย่างแน่นอน
ตั้งชื่อบริษัทยังไง ไม่ให้มีปัญหาทีหลัง
1. ไม่ใช้คำยากในการตั้งชื่อบริษัท
ชื่อบริษัทที่ดีควรสามารถสื่อความหมายและตัวตนของธุรกิจออกมาได้ดีและมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน อีกมุมหนึ่งคุณควรตั้งชื่อบริษัทให้สามารถเข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายทั้งการออกเสียง สำเนียง การเขียน และหากคุณไม่อยากจะเผชิญกับการออกเสียงหรือการใช้คำผวนที่ทำให้ธุรกิจของคุณเกิดความเสียหาย เราแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการเล่นคำ หรือการใช้คำแผลงๆ ด้วย และหากคุณไม่อยากให้การติดต่อราชการหรือดำเนินธุรกิจยุ่งยาก ก็ไม่ควรเลือกใช้คำที่มีตัวสะกดยากๆ เพราะหากคุณเลือกใช้ชื่อบริษัทที่มีคำสะกดยาก อาจจะเกิดความผิดพลาดในการติดต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะด้านการทำสัญญาซื้อขาย หรือเช็คสั่งจ่าย รวมไปถึง อาจทำให้การจัดทำเว็บไซต์ หรือ จดโดเมนเว็บไซต์ของบริษัท เกิดความยุ่งยากจากการสะกดชื่อบริษัทผิดๆ ถูกๆ ได้
2. อักษรย่อไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป
จริงอยู่ที่ชื่อย่อจะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารกับคนทั่วไปและทำการตลาดหรือโฆษณาได้ง่ายขึ้น (อย่างที่คุณเห็นชื่อย่อของบริษัทยักษ์ใหญ่หลายๆแห่ง) แต่ในกรณีที่คุณเป็น ผู้ประกอบการรายย่อย เราแนะนำให้คุณเลือกใช้ชื่อบริษัทหรือสินค้าแบบเต็มๆ โดยไม่ใช้ชื่อย่ออาจจะเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของคุณมากกว่า
3. ตั้งชื่อเผื่อขยายกิจการในอนาคต
แม้ว่าในวันนี้คุณอาจจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจ อาจจะไม่ใช่ยักษ์ใหญ่ในวงการธุรกิจ แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อคุณดำเนินธุรกิจไปแล้วจะไม่สามารถขยายธุรกิจได้ในอนาคต ดังนั้น เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต คุณจึงควรตั้งชื่อบริษัทให้มีเอกลักษณ์และหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อสถานที่ในการตั้งชื่อบริษัทให้ได้มากที่สุด
4. เช็คให้แน่ใจว่า เราไม่ได้ใช้ชื่อซ้ำ
เพื่อให้แน่ใจว่า ชื่อบริษัทที่เราเสียเวลาคิดมานานนั้นสามารถใช้ได้ ไม่มีแบรนด์ไหนหรือธุรกิจอื่นใดเคยใช้มาก่อน เราแนะนำให้คุณทำการตรวจสอบชื่อบริษัทและทำการจองชื่อนิติบุคคลได้ที่ เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th (เลือกจองชื่อ/ตรวจคำขอจดทะเบียนนิติบุคคล)
5. ไม่ใช้ชื่อที่ใกล้เคียงบริษัทที่มีชื่อเสียง
ทางที่ดีคุณควรหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อบริษัทให้ห่างไกลจากบริษัทหรือสินค้าที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เพื่อป้องกันผู้บริโภคเข้าใจผิด และป้องกันการฟ้องร้องจากบริษัทที่มีชื่อเสียงด้วย ทางที่ดีเริ่มต้นด้วยชื่อบริษัท หรือชื่อสินค้าที่คุณคิดเองจะดีที่สุด
6. หลีกเลี่ยงชื่อที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ หน่วยงานราชการ
หลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคลระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัทหรือทำธุรกิจรูปแบบนิติบุคคลนั้น จะต้องไม่มีคำหรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับ
6.1 พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับพระบรมราชานุญาต
6.2 ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานหรือ องค์การของรัฐ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้อง
6.3 ชื่อประเทศ เว้นแต่จะได้ระบุไว้ในวงเล็บต่อท้ายชื่อ และอยู่หน้าคำว่า “จำกัด”
6.4 ชื่อที่อาจก่อให้เกิดสำคัญผิดว่า รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วน ท้องถิ่น หน่วยงาน หรือองค์การของรัฐทั้งของประเทศไทยหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นเจ้าของหรือ ผู้ดำเนินการ
6.5 ชื่อที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
7. หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อตัวเอง
จริงอยู่ที่การใช้ชื่อตัวเองเป็นชื่อกิจการจะทำให้คุณสามารถประหยัดเวลาในการคิดชื่อบริษัทไปได้มาก แต่หากใครคิดจะใช้ชื่อตัวเองในการ จดทะเบียนหรือจัดตั้งบริษัท เราอาจจะต้องขอให้คุณพิจารณาใหม่อีกที เพราะการใช้ชื่อตัวเองในการตั้งชื่อบริษัท อาจจะทำให้คุณเจอปัญหาได้ในอนาคต เพราะถ้าว่ากันตามจริง หากชื่อร้านค้าหรือบริษัทที่เป็นตัวบุคคลนั้น ไม่สามารถสร้างการดึงดูดใจลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการได้ดีเท่าบริษัทที่สร้างชื่อจากสินค้าและบริการ
8. ท่องไว้ว่า “ชื่อบริษัท” เป็นเรื่องสำคัญ
เพราะชื่อสินค้าหรือชื่อบริษัทไม่ได้มีไว้สำหรับการจดทะเบียนบริษัทเท่านั้น ที่พูดแบบนี้เพราะคนทั่วไปจะต้องรู้จักคุณผ่านชื่อสินค้าและบริการที่คุณมี และคุณยังต้องใช้ชื่อบริษัททำการตลาดด้วย และชื่อบริษัทยังส่งผลต่อภาพลักษณ์และจุดยืนด้านการตลาด นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับชื่อบริษัทหรือสินค้าให้มาก
สำหรับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน ไม่ว่าท่านจะ ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดามานานและอยากเปลี่ยนมาทำธุรกิจแบบนิติบุคคล หรือ เป็นนักธุรกิจมือใหม่ที่อยากจดทะเบียนบริษัท แต่ยังไม่เจอบริการจดทะเบียนบริษัทที่ถูกใจ แนะนำให้คุณลองใช้ บริการทีมงานมืออาชีพจากเรา